วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

อิเหนาตอน ศึกกะหมังกุหนิง

              ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป
 จัดทำโดย
นายสุทธิพงศ์ ศักดิ์สิทธิ์ เลขที่ 29 (รับบทเป็น อิเหนา)
น.ส.ขวัญชนก เพ็งอุดม เลขที่ 16 (รับบทเป็น บุษบา)
น.ส.ณัฐชา สุวรรณ เลขที่ 3 (รับบทเป็น จินตะหรา)
น.ส.ธรชญา จูประเสริฐ เลขที่ 4 (รับบทเป็น จรกา)
น.ส.เฌอปราง พุทธชาติ เลขที่ 2 (รับบทเป็น ท้าวกะหมังกุหนิง)
นายอนุชา ศรีเสวตร์ เลขที่ 12 (รับบทเป็น วิหยาสะกำ)
น.ส.สุชาวดี บุญมา เลขที่ 1 (รับบทเป็น ท้าวกุเรปัน)
น.ส.ภคพร จันทร์แป้น เลขที่ 11 (รับบทเป็น ท้าวดาหา)
น.ส.สุจิรา เหล่าวนิชวิศิษฏ์ เลขที่ 6 (รับบทเป็น ประไหมสุหรี)
น.ส.ชนิสรา คูรศิริกุล เลขที่ 43 (รับบทเป็น ช่างภาพ)
น.ส.นรมน แจ้งกระจ่าง เลขที่ 5 (ครีเอทีฟ,กำกับ,ตัดต่อ)
ส่ง อ.มาลัย รอดประดิษฐ์ ปล.วีดิโออาจจะไม่ชัดนะคะ แต่พวกเราตั้งใจทำน้าา ^^

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 1

คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑.      ความเป็นมา
คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
-                   พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
      คำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโมธัมมังนะมัสสามิ
      คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ
     คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง
     คำนมัสการพระอาจริยคุณ ครูอาจารย์ผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐยิ่ง ได้อบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีวิชาความรู้ ได้ให้โอวาทตักเตือนด้วยเมตตาธรรม ข้าพเจ้าขอกราบไว้คุณครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
๒.    ประวัติผู้แต่ง
          พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารกูร) เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รอบรู้ในวิชาภาษาไทยและได้ชื่อว่าเป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งยังเป็นครูที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม อุทิศชีวิตเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติอีกด้วย
๓.    ลักษณะคำประพันธ์
         คำนมัสการคุณานุคุณแต่ละตอนแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆดังนี้
         ๓.๑ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

               อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการคุณานุคุณ มาตาปิตุคุณ และอาจริยคุณ มีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้...อ่านต่อเพิ่มเติม